รีวิว Case Phantek evolv ITX ที่มาของคำว่า เคสใหญ่ในไซส์จิ๋ว
พูดถึงการออกแบบลักษณะของเคสโดยทั่วไป คือจะเป็นลักษณะทรงเหลี่ยมผืนผ้า และมีการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ แบบปกติ ซึ่งต้องขอบอกก่อนเลยว่า เคสในท้องตลาดของเรานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนี้
โดยเคสในท้องตลาดของเรา จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ไซส์ นั่นคือ เคสแบบ Full Tower , เคสแบบ Mid Tower , เคสแบบ Mini Tower นอกเหนือจากนี้ อาจจะไม่เห็นในท้องตลาดทั่วไป เช่น Super Tower ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ เป็นต้น แอดจะขอพูดถึง 3 อย่างพอแล้วกัน เพื่อจะได้ไม่ให้ยาวมากเกินไปครับ
โดยเคสไซส์ Full Tower และ Mid Tower จะมีการจัดวางองค์ประกอบโดยรวมมาคล้ายๆกัน กล่าวคือ ถ้าคุณประกอบคอมใน Mid Tower ได้ ก็สามารถประกอบคอมใน Full Tower ได้เช่นกัน
แต่สำหรับ เคสแบบเล็กะทัดรัดอย่าง Mini Tower ส่วนใหญ่แต่ละแบรนด์จะมีการออกแบบดีไซน์มาแตกต่างกัน จุดประสงค์คือต้องการให้เล็กที่สุด กะทัดรัดพกพาง่ายที่สุด อาจจะมีการย้ายตำแหน่งของการจัดสาย หรือย้ายตำแหน่งของ Power Supply เป็นต้น ซึ่งถ้ามีโอกาสแอดจะนำเคส Mini Tower ประเภทนั้นมารีวิวให้ดู
แต่สำหรับวันนี้ แอดได้มีโอกาสลองประกอบเคส Mini Tower ที่เป็นทรงแบบทั่วไป นั่นคือ เจ้า Phantek Evolv ITX นั่นเอง
โดยแอดเห็นมันลดใน เว็บไซต์หน้าร้าน เลยลองซื้อมาลองยาดู โดยสิ่งที่แอดอยากลองนั่นก็คือ การประกอบ PC แบบปรกติ ในเคส Mini Tower นั่นเอง
เพราะการออกแบบดีไซน์ของเคส Phantek Evolv ITX นี้ แทบจะเหมือนกับพวกเคส Mid Tower หรือ Full Tower ปกติเลย ทั้งการจัดวางเลย์เอ้าของเมนบอร์ด การจัดวาง Power Supply เรียกได้ว่าไม่ได้มีอะไรแปลกหรือพิสดารจากเดิม ซึ่งเคส Mini Tower ส่วนใหญ่จะไม่ได้ปกติแบบนี้ มันเลยกลายความปกติในความไม่ปกติ? (Getsunova)
พูดง่ายๆก็คือ เจ้าเคสตัวนี้ คือ เคส Mid tower หรือ full tower ย่อส่วนมาเป็น Mini Tower ทุกอย่างคงเดิม เพิ่มเติมคือขนาดที่เล็กลง ราวกับใช้ไฟฉายย่อส่วนของโดราเอมอนเลยแหละ
Phantek evolv ITX Design
เมื่อกล่อง Phantek Evolv ITX ขึ้นมา
ดีไซน์แรกที่เราจะได้เห็นก็คือ หน้าตาแบบทรงเหลี่ยม โดยรุ่นที่ซื้อมานี้ มีสีขาว ตัดกับสีดำ วัสดุส่วนใหญ่เป็นโลหะอะลูมิเนียม
ส่วนตัวหน้าเคส วัสดุเป็นพลาสติกแข็ง มีการวาง Power Supply ไว้ด้านล่างเคส ตัวเคสมีการเจาะรูระบายคตวามร้อนด้านล่างทั้งส่วนของใต้ PSU และ บน PSU
ตัวเคสมีทีเด็ดคือ สามารถใส่ PSU ไซส์ปกติ คือไซส์ ATX ได้นั่นเอง (เคส Mini Tower ส่วนใหญ่ จะไม่สามารถใส่ไซส์นี้ได้ ต้องไปซื้อไซส์ SFX มาใส่ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าปกติมาก) และมีแผ่นกรองฝุ่น (Dust Filter) ไม่ต้องกังวลว่าฝุ่นจะเข้าเคสเลยครับ และสามารถถอดมาล้างทำความสะอาดได้อย่างง่ายดาย
การรองรับ Power Supply ขนาด ATX
อย่างที่กล่าวไปในเคส Mini Tower ส่วนใหญ่ จะรองรับ PSU ขนาดเล็กอย่าง SFX PSU เท่านั้น
ซึ่งไอ้เจ้า SFX PSU นั้นส่วนใหญ่จะมีความจุไม่มากนัก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 650W มาตราฐาน 80+ ซึ่งอาจจะมีการจ่ายไฟที่ปริ่มๆเลยสำหรับการ์ดจอตัวโหดอย่าง RTX3000 เป็นต้น
แต่สำหรับเคส Phantek Evolv ITX ตัวนี้รองรับไซส์มาตราฐาน ทำให้สามารถใส่ PSU ROG Thor 850W Platinum ที่มีขนาดใหญ่ได้ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่า PSU จะแต๊บเพราะไฟไม่พอ สบายใจได้เลย
ฝากระจกแบบ Tempered Glass ดูดี มีระดับ
เคสตัวนี้จะมีฝาด้านข้างเป็นกระจกแบบ Tempered Glass ซึ่งเป็นกระจกนิรภัย ข้อดีคือ เวลามีอุบัติเหตุ มันจะไม่แตกเป็นแผ่น ทำอันตรายกับเราได้ ทำให้ปลอดภัยอยู่ระดับนึง
โดยวิธีการเปิดฝากระจกคือ พลิกเคสลงไปในแนวนอน แล้วขันน๊อตทั้งสี่ด้านตรงฝากระจก อันนี้ขอติเป็นข้อเสียของเคสตัวนี้แล้วกันนะครับ เพราะการขันน๊อตไปที่ 4 มุมของตัวกระจกแบบนี้ค่อนข้างอันตราย เวลากระจกร้อนๆ แล้วเราไปขันน๊อตออกอาจจะทำให้แตกคามือได้ เพราะฉะนั้นควรปิดคอมแล้วพักให้กระจกเย็นลงก่อน อย่าขันตอนที่จับกระจกแล้วรู้สึกร้อนๆ หรืออุ่นๆครับ
รองรับเมนบอร์ดขนาด MINI ITX และ MINI DTX
ภายในห้องเครื่องมีการวางเลย์เอ้าแบบเหมือนทั่วไป แต่จะรองรับ เมนบอร์ดขนาด Mini-ITX และ Mini-DTX เท่านั้น (Mini DTX จะมีความกว้างเท่ากับ ITX ทุกอย่าง แต่จะมีความยาวเพิ่มนิดหน่อย เป็น 2 สล๊อตการ์ดจอ)
โดยจะมีพัดลมขนาด 14mm ติดตั้งมาให้ 1 ตัว ไม่มีไฟ RGB นะครับ โดยเราสามารถย้ายพัดลมตัวนี้ไปไว้ที่อื่นก็สามารถทำได้ โดยเจ้าเคส Phantek Evolv ITX ตัวนี้ ดูห้องเครื่องแล้วอาจจะเห็นว่าดูกว้างขวางมาก แต่ก็ไม่สามารถรองรับเมนบอร์ดตระกูล M-ATX ได้นะครับ เนื่องจากมีความยาวไม่พอ
ติดตั้งการ์ดจอขนาดใหญ่ยาวได้
สำหรับสล๊อตการ์ดจอตัวนี้จะรอบรับการติดตั้งการ์ดจอความหนาอยู่ที่ไม่เกิน 2.5 สล๊อต (2 สล๊อตครึ่ง) โดยทำการวัดให้ดีนะครับว่าการ์ดจอเราต้องหนาไม่เกินนี้ และความยาวนั้นรองรับถึง 300mm เรียกได้ว่าแทบจะใสการ์ดจอในตลาดได้หลากหลายเลยก็ว่าได้ (ยกเว้น RTX ซีรีส์ 3000 ที่ใหญ่ทุกตัว) ไม่จำเป็นต้องเอาเฉพาะการ์ดจอแบบ Low Profile ตัวเล็กๆมาใส่ ทำให้มีประสิทธิภาพสูง เล่นเกมได้สบายๆ
ระบบระบายความร้อน จัดสาย Very good
การติดตั้งระบบระบายความร้อนอันนี้ต้องขอบอกไว้ก่อนว่า เคสตัวนี้สามารถรรองรับพัดลมและหม้อน้ำได้ แต่พัดลมต้องไม่ใหญ่และสูงมากเกินไป พัดลมแถมอย่าง Wraith Prism สามารถใช้ได้
ส่วนหม้อน้ำ แอดลองติดตั้งที่ 1 ตอนสามารถใช้งานได้ดีครับ ส่วน 2 ตอนแอดคิดว่าอาจจะต้องดัดแปลงสักหน่อยนึง เพราะสายยางอาจจะระโยงระยางมากไปหน่อย โดยการติดตั้งหม้อน้ำนั้นสามารถติดตั้งได้ที่ด้านบนอย่างแน่นอน โดยสามารถแกะถอด Bracket ออกมาติดหม้อน้ำได้อย่างง่ายดาย
ส่วนใครที่เป็นสายหม้อน้ำหน้าเคส อาจจะต้องเผื่อใจไว้หน่อย เพราะหน้าเคสรองรับแค่ 1 ตอนเท่านั้น และอาจจะชนกับการ์ดจอทำให้ติดตั้งการ์ดจอความยาวระดับ 300mm ไม่ได้ ทางที่ดีคือติดตั้งพัดลมหน้าเคส หม้อน้ำด้านบน พัดลมเป่าออกหลังเคส จะเป็นทางลมที่ดีที่สุด สำหรับเคสตัวนี้ครับ
สรุป การติดตั้งพัดลมและหม้อน้ำ
ด้านหลัง – 120 mm / 1 ตัว 140 mm / 1 ตัว – หม้อน้ำ 1 ตอน
ด้านบน – 120 mm / 2 ตัว 140 mm / 1 ตัว – หม้อน้ำ 2 ตอน
ด้านหน้า – 120 mm/ 2 ตัว 140 mm / ตัว – หม้อน้ำ 1 ตอน
มีพัดลมติดตั้งมาให้ 1 ตัว ไม่ใช่ RGB ที่เหลือสามารถซื้อแยกมาติดตั้งเองได้ตามเสปคที่ระบุไว้ด้านบน
สำหรับฝาหน้าเคส ทำจากพลาสติกชนิดแข็ง สามารถถอดได้ด้วยการดึงแบล๊กเก็ตออกมาได้เลยครับ ถอดง่ายมากๆ และภายในก็จะติดตั้ง Dust Filter กรองฝุ่นไว้อีกหนึ่งจุด เป็นขนาดใหญ่ดักฝุ่นได้ดี ถอดมาทำความสะอาดง่ายเลยทีเดียว
ดีไซน์ของฝาหน้าเคสก็ไม่มีอะไรมากครับ ทรงเรียบหรู คล้ายๆกับ เคสรุ่นยอดนิยมอย่าง Phantek Evolv X เพียงแต่ไม่ได้ทำการติดตั้งไฟ RGB มานั่นเอง แต่มีไฟสีขาวๆ อยู่ตรงด้านหน้าเล็กน้อยเท่านั้น
ข้อเสียของหน้าเคสรุ่นนี้ เห็นจะมีแค่อย่างเดียว คือ เคสตัวนี้นั้นวางจำหน่ายนานมากแล้ว อาจจะมีตัว Rework มาใหม่บ้างแต่ก็ยังคงโมเดลเก่าอยู่ และข้อเสียนั่นก็คือหน้าเคสยังเป็นหน้าเคสรุ่นเก่า คือ มีพอร์ต USB 3.0 มาให้จำนวน 2 พอร์ต ปุ่ม Reset เครื่อง แจ๊ค 3.5 Audio และ Microphone แต่ถ้าเป็นเคสในปัจจุบัน ก็จะมีการเพิ่ม USB 3.1/3.2 Type A หรือบางเคสเป็น USB 3.1 Type C ปุ่ม แจ๊ค 3.5 แบบ Audio/Microphone All in one มาให้
ซึ่งสำหรับอุปกรณ์สมัยนี้แล้วก็สำคัญไม่น้อย แต่ก็เป็นข้อติเล็กๆน้อยเท่านั้นครับ เทียบกับข้อดีแล้ว เสียบหลังเคสเอาก็ได้ ส่วนปุ่มเปิดเครื่องจะถูกวางไว้ด้านบนของเคส พร้อมกับไฟสีขาวสวยงาม
การติดตั้ง Storage ได้เยอะมาก สบายบรื๋ออ
ที่ผมกล่าวไปว่าเคสตัวนี้ คือไซส์ปกติมาย่อส่วน จึงทำให้การรองรับการติดตั้ง HDD และ SSD ยืดหยุ่นมากเลยทีเดียว การติดตั้ง Storage นั้นทำได้เหมือนกับเคสปกติเลย
โดนเขาจะมี แบล๊กเก็ต (Bracket) เป็นพลาสติก มาให้จำนวน 2 ชิ้น สามารถใส่ HDD แบบ 3.5 ได้ 1 ตัว ต่อ 1 แบล๊กเก็ต ทำให้ติดตั้งได้ 2 ตัว ในส่วนของ HDD แบบ 2.5 หรือ SSD แบบ 2.5 นั้นก็สามารถติดตั้งได้จำนวน 2 ตัว โดยติดตั้งที่แบล๊กเก็ต เหล็กที่ติดตั้งมาให้อยู่แล้วในด้านหลัง จำนวน 1 ชิ้น และด้านหน้า ตรงที่ว่างข้างบน Logo Phantek อีกจำนวน 1 ชิ้น รวมแล้ว สามารถติดตั้ง HDD 3.5 ได้ 2 ตัว 2.5 ได้ 2 ตัว
นับว่าเป็นเคส Mini Tower ส่วนน้อยมากที่จะติดตั้ง Storage ได้มากขนาดนี้ ยังไม่รวม SSD m.2 ในเมนบอร์ดอีกนะครับ ใส่กันให้จุใจไปเลย
ระบบจัดสายก็เช่นกันครับ การจัดสายของเคสนี้ทำได้โดยง่าย เพราะมีช่องสำหรับสอดสาย และสายสำหรับรัดสาย มาให้พร้อม เก็บสายหรือจัดสายก็สามารถทำได้ แต่อาจจะลำบากกว่าเคสใหญ่นิดหน่อย แต่ก็ถือว่าสบายกว่าเคสแบบ Mini Tower อื่นๆเยอะครับ
สรุป!!
เคสตัวนี้ผมลืมวัด และเทียบกับเคสแบบ Mini tower ตัวอื่นให้ดู ว่ามันกว้าง x ยาว x สูง เท่าไหร่ เอาตามขนาดในเว็บไซต์แล้วกันครับ ก็คือ 23 cm x 37.5 cm x 39.5 cm ส่วนความรู้สึกของผมคือ อ้วน เตี้ย สูง น้อยกว่าเคส ไซส์ปกตินิดหน่อย ประมาณ 1/3 แล้วกันครับ
เอาเป็นว่า ใครชอบเคสที่ดีไซน์ไม่ยุ่งยาก ประกอบไม่ยุ่งเหยิง ขนาดเล็กกว่าทั่วไป แต่ไม่ถึงกับเล้กจัดจนเบียดกันแน่นเกิน มีรบบระบายความร้อนที่ดี มีทางลมที่ยืดหยุ่น ใส่ PSU ขนาด ATX ใส่ HDD 3.5 ได้ 2 ตัว 2.5 ได้ 2 ตัว ใส่การ์ดจอได้หลากหลาย ใส่หม้อน้ำได้ยืดหยุ่น ครบเครื่อง เคสกระจก ดีไซน์เรียบหรู สวยงาม ขอแนะนำตัวนี้เลยแล้วกันครับ สำหรับราคาค่าตัวแค่ 2 พันกลางๆ คงยากที่จะหาฟังก์ชั่นครบและยืดหยุ่นขนาดนี้แล้ว
สำหรับวันนี้ แอดขอลาไปเพียงเท่านี้แล้วกันครับ ขอให้ทุกคน Enjoy กับรีวิวนี้ หวังว่าจะตรงใจทุกๆคนนะครับ
– We make your happiness a priority –
อย่าลืมกดไลค์และกดติดตาม ในเฟสบุคส์ >> GagangTech และ Youtube GagangTech จะได้ไม่พลาดข่าวสารและกิจกรรมดีๆ นะครับ
สนใจสั่งซื้อ Heatsink SSD แบบ Custom RGB ได้ ใส่กับเมนบอร์ดได้ทุกประเภท ซิงค์ปรับไฟผ่านซอฟแวร์ได้ คลิกลิงค์นี้เลย GagangMart@Shopee ร้านค้าในเครือ GagangTech เชื่อถือได้ รีวิวเองขายเองนักเลงพอ ไม่มีหมกเม็ดทั้งนั้น
>> Heatsink SSD สำคัญไหมในปี 2021
>> รีวิว Corsair 4000D & 4000D Airflow สำหรับคนไม่ชอบเคสเล็กๆ
>> รายละเอียด Heatsink SSD บน GagangMart.com